วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ฟังก์ชั่นPHP : ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง

        เป็นฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง เพื่อให้ทำงานนอกเหนือจากฟังก์ชั่นที่มีอยู่ใน PHPหรือเราต้องการให้โปรแกรมทำงานตรงกับความต้องการของเรา รูปแบบการเขียนฟังก์ชั่นเป็นดังนี้





<?php
    function ชื่อฟังก์ชั่น (ค่าที่ส่งให้) {
        การทำงานของฟังก์ชั่น
    }
?>
ลองดูตัวอย่างการสร้างฟังก์ชั่นชื่อ cmdevhub() กันครับ








<?php
    function cmdevhub() {
        echo "welcome to cmdevhub";
    }

    // เราสามารถเรียกฟังก์ชั่นได้โดยเรียกจากชื่อฟังก์ชั่น

    cmdevhub(); // พิมพ์ welcome to cmdevhub
?>
         การส่งค่าให้ฟังก์ชั่นทำการคำนวนนั้นมี รูปแบบคือ ส่งค่าไปตรงๆ เลย และ ส่งค่าอ้างอิงตำแหน่งของตัวแปรส่วนวิธีการรับค่าของฟังก์ชั่นทำได้โดยใส่ตัวแปรเข้าไปใน ( ) มาดูตัวอย่างกัน

2.1 การส่งค่าโดยตรง











<?php
    function cArea($r) {    // ฟังก์ชั่นหาพื้นที่วงกลม
        echo $r * 22 / 7;
    }
    function sArea($h, $w) {    // ฟังก์ชั่นหาพื้นที่สี่เหลี่ยม
        echo $h * $w;
    }

    cArea(15);  // ผลลัพท์ 47.1428571429
    echo "<br />";
    sArea(3, 15); // ผลลัพธ์ 45
?>
เราสามารถส่งค่าไปให้ฟังก์ชั่นโดยใช้ค่าที่อยู่ในตัวแปรส่งไปได้ด้วย








<?php
    function sArea($h, $w) {
        echo $h * $w;
    }

    $width = 12;
    $height = 3;
    sArea($width, $height);
?>

ถ้าหากส่งค่าให้ฟังก์ชั่นมากเกินกว่าที่ฟังก์ชั่นรับไว้ ค่าที่เกินมา จะไม่ถูกนำไปใช้งาน แต่ถ้าหากส่งค่าไปไม่ครบจะเกิดข้อผิดพลาด Warning: Missing argumentตรงนี้ก็ระวังกันด้วยนะครับ

2.2 การส่งค่าอ้างอิงตำแหน่งตัวแปร
โดยปกติการส่งค่าให้ฟังก์ชั่นจะทำการส่งค่าของตัวแปรนั้นๆ เข้าไปยังฟังก์ชั่นเลย ถ้าหากต้องการผลลัพธ์ของการคำนวนก็ทำการคืนค่า (return) กลับมา แต่เราสามารถเขียนให้ง่ายกว่านั้นได้อีก โดยการส่งตำแหน่ง (address) ของตัวแปรนั้นเข้าไปยังฟังก์ชั่นแทน ก็สามารถทำการคำนวนและเปลี่ยนค่าของตัวแปรที่เราต้องการได้โดยไม่ต้องทำการคืนค่ากลับออกมา ตัวอย่างที่ผมใช้บ่อยและใช้ตลอดก็คือการคำนวนภาษี (ยังหาโปรแกรมอื่นๆ ที่ใช้ฟังก์ชั่นแบบนี้ไม่ได้เลย) ลองดูตัวอย่างกันครับ














<?php
    function cal_tax(&$cost, $tax) {
        $cost += $cost * $tax;
    }

    $cost = 200;
    $tax = 0.07;

    echo "จำนวนเงินก่อนคำนวนภาษี " . $cost; // ผลลัพธ์ 200
    echo "<br />";

    cal_tax($cost, $tax);

    echo "จำนวนเงินหลังคำนวนภาษี " . $cost; // ผลลัพธ์ 214
?>

จะเ้ห็นว่า เราสามารถเปลี่ยนตัวแปร $cost โดยไม่ต้องทำการคืนค่าในฟังก์ชั่นเลย จริงๆ แล้ว ตัวอย่างด้านบนสามารถเขียนได้อีกแบบดังนี้















<?php
    function cal_tax($cost, $tax) {
        $cost += $cost * $tax;
        return $cost;
    }

    $cost = 200;
    $tax = 0.07;

    echo "จำนวนเงินก่อนคำนวนภาษี " . $cost;
    echo "<br />";

    $cost = cal_tax($cost, $tax);

    echo "จำนวนเงินหลังคำนวนภาษี " . $cost;
?>
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเหมือนกันทุกอย่าง แต่การเรียกใช้งานจะไม่เหมือนกัน จุดนี้ก็แล้วแต่ล่ะครับ ว่าจะเลือกใช้วิธีไหน ถ้าหากทำงานเ็ป็นทีม การใช้งานฟังก์ชั่นที่คืนค่ากลับมาจะเข้าใจได้ง่ายกว่า แต่ถ้าหากทำงานไม่กี่คน หรือแค่คนเดียว การอ้างอิงหน่วยความจำจะทำให้โค๊ดสั่นกว่า และเข้าใจยากกว่า (ถ้าหากเราลืม อิอิ) เอาเป็นว่า รู้ไว้เฉยๆ ก็ได้ครับ เพราะบางทีเราอาจจะไม่ได้เขียนฟังก์ชั่นแบบนี้เลยก็ได้ (แต่ลองใช้แล้วจะติดใจ)

2.3 การกำหนดค่าเริ่มต้นให้ฟังก์ชั่น
ในการสร้างฟังก์ชั่นที่ทำการรับค่านั้น เราจำเป็นที่จะต้องส่งค่าให้กับฟังก์ชั่นนั้นๆ จนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ ถ้าหากส่งค่าไม่ครบจะเกิดข้อผิด Warning: Missing argument ขึ้น หรือ ถ้าเราต้องการสร้างฟังก์ชั่นที่เรารู้ค่าที่ใช้คำนวณอยู่แล้ว เช่นฟังก์ชั่นที่คิดภาษีที่เรารู้อยู่แล้วว่าต้องคิดที่ 7% แต่ต้องการให้สามารถเปลี่ยนค่าได้โดยที่ไม่ต้องแก้ไขฟังก์ชั่นใหม่ ก็สามารถทำการกำหนดค่าเริ่มต้นขึ้นมาได้เลย ลองดูตัวอย่างกัน












<?php
    function cal_tax(&$cost, $tax = 0.07) {
        $cost += $cost * $tax;
    }
    $cost = $cost1 = 200;
    echo "จำนวนเงินก่อนคำนวนภาษี " . $cost;
    echo "<br />";
    cal_tax($cost);
    echo "จำนวนเงินหลังคำนวณภาษี " . $cost;
    echo "<hr />";
    echo "คิดภาษีที่ 10%";
    echo "<br />";
    echo "จำนวนเงินก่อนคำนวณภาษี " . $cost1;
    echo "<br />";
    cal_tax($cost1, 0.1);
    echo "จำนวนเงินหลังคำนวณภาษี " . $cost1;
    echo "<br />";
?>

จากตัวอย่าง ทำการผสมผสานกันระหว่างการเรียกฟังก์ชั่นโดยใช้อ้างอิงตำแหน่งตัวแปร กับการกำหนดค่าเริ่มต้นให้ฟังก์ชั่น จะเห็นได้ว่า เราเรียกฟังก์ชั่นครั้งแรกโดยไม่ส่งค่าไปแค่ตัวเดียวคือตำแหน่งของตัวแปร $cost เราได้ทำการกำหนดค่าเริ่มต้นให้ตัวแปร $tax แล้วทำให้ตัวแปร $tax มีค่า 0.07 ตามที่เรากำหนดไว้ แต่พอเรียกครั้งที่สองเราได้ส่งค่า 0.1 ให้กับตัวแปร $tax ด้วย ทำให้ค่าของตัวแปร $tax ถูกเปลี่ยนจาก 0.07 เป็น 0.1 แทน

2.4 การคืนค่าของฟังก์ชั่น
ในการสร้างฟังก์ชั่นขึ้นมาใช้งานนั้น ถ้าหากไม่มีการส่งค่ากลับคืนมาเมื่อทำงานเสร็จ ฟังก์ชั้นนั้นก็แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เนื่องจากไม่สามารถนำค่าที่ฟังก์ชั่นคำนวนได้กลับมาใช้งาน การคืนค่าของฟังก์ชั่น สามารถทำได้โดยใช้คำสั่ง returnโดยสามารถคืนค่าจากผลลัพธ์การคำนวณได้หนึ่งค่า หรือถ้าต้องการคืนหลายๆ ค่าพร้อมกัน สามารถใช้ตัวแปรแบบ array หรือ list ก็ได้ ลองดูตัวอย่างกันครับ
การคืนค่าหนึ่งค่า

<?php
    function cal_tax($cost, $tax = 0.07) {
        $cost += $cost * $tax;
        return $cost;
    }

    $cost = 200;
    echo "ค่าก่อนคำนวนภาษี " . $cost;
    $cost = cal_tax($cost);
    echo "<br />";
    echo "ค่าหลังคำนวนภาษี " . $cost;
?>

การคืนค่าหลายค่าการเรียกใช้งานฟังก์ชั่นที่มีการคืนค่านั้น จำเป็นต้องมีตัวแปร หรือคำสั่งใดๆ รองรับการคืนค่านั้นๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว ค่าที่คืนกลับมา ก็ไม่สามารถนำไปใช้งานใดๆ ได้เลย
การคืนค่าหลายๆ นั้น ต้องทำให้ตัวแปรนั้นเป็น array ก่อน โดยจะสร้างให้ตัวแปรนั้นเป็น array หรือใช้คำสั่ง list() ในการรับค่าก็ได้ ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น list()

 <?php
    $color = array('red', 'green',' blue');
    list($red, $green, $blue) = $color;
    // ตัวแปร $red เก็บค่า red, $green เก็บค่า green, $blue เก็บค่า blue

?>

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชั่นที่คืนค่าแบบ array

<?php
    function user() {
        $name[] = "POP EYE";
        $name[] = "shikimasan[a]gmail[dot]com";
        $name[] = "www.cmdevhub.com";
        return $name;
    }
    // รับค่าโดยใช้ฟังก์ชั่น list ต้องทำการสร้างตัวแปรรับค่าให้ตรงกับค่า
ที่คืนกลับมา
    list($name, $email, $web) = user();

    // รับค่าโดยใช้ตัวแปร ทำให้ตัวแปรนั้นถูกเปลี่ยนเป็นแบบ array โดยอัตโนมัติ
    $name = user();

    // การอ้างอิงค่าต้องทำการอ้างอิงจาก index ของ array โดยตรง
    echo $name[0];
    echo $name[1];

?>

2.5 ฟังก์ชั่นซ้อนฟังก์ชั้น (Nesting Function)จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า
เราสามารถรับค่าจากฟังก์ชั่นที่คืนค่าเป็น array ได้ทั้ง 2แบบ แต่ในการใช้งานจริงๆ จะใช้ฟังก์ชั่น list() รับค่ามากกว่า เพราะต้องกำหนดตัวแปรให้กับค่าที่คืนมาแต่ละค่า ซึ่งจะสื่อความหมายมากกว่ารับค่าโดยใช้ตัวแปรและอ้างอิงโดยใช้หมายเลข index อ้างอิงในภาษา PHP เราสามารถสร้างฟังก์ชั่นขึ้นมาภายในฟังก์ชั่นอีกทีได้ แบบตัวอย่าง

<?php
    function cal_tax ($price, $tax) {
        function cal_vat ($total) {
            return $total * 0.07;
        }
        $price += $price * $tax;
        echo "จำนวนเงินทั้งหมดหลังรวมภาษี " . $price . "                  
หลังรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม " . ($price + cal_vat($price));
    }
    cal_tax(1500, 0.1); // ผลลัพธ์ 1650 , 1765.5
    echo "<br />";
    echo cal_vat(100);  // ผลลัพธ์ 7

?>

    Nesting Function ของภาษา PHP ไม่มีการกำหนดระดับของการเข้าถึง (scope)
ทำให้ไม่ว่าจะเขียนฟังก์ชั่นไว้ที่ไหนก็สามารถเรียกใช้ได้การเขียนแบบนี้ไม่ค่อยได้ใช้ในชีวิตจริงเท่าไหร่
แต่ก็ให้รู้ไว้ว่าเราสามารถสร้างฟังก์ชั่นแบบนี้ได้ เผื่อเอาไปสอบ CERT นะครับ

2.6 ฟังก์ชั่นเรียกตัวเอง (Recursive Function)
ฟังก์ชั่นเรียกตัวเอง ใช้สำหรับทำงานซ้ำๆ กันโดยที่เราไม่รู้จำนวนรอบในการทำงาน
โดยจะมีจุดสิ้นสุดการทำงานอยู่ในฟังก์ชั่นเองอยู่แล้ว เพื่อให้ฟังก์ชั่นหยุดการทำงาน
การเขียนฟังก์ชั่นแบบเรียกตัวเอง จะลดระยะเวลาในการเขียนโปรแกรมไปได้อย่างมาก
 แต่ปัญหาคือการออกแบบและเขียนได้ยากมาก ทำให้ไม่ค่อยได้เห็นคนเขียนฟังก์ชั่นแบบนี้กันเท่าไหร่
เรามาดูตัวอย่างฟังก์ชั่นเรียกตัวเองที่เขียนกันบ่อยๆ 2ตัวอย่างกัน

<?php


    function fibo($num) {
        if ($num == 1 || $num == 2) {
            return 1;
        }
        else {
            return fibo($num - 1) + fibo($num - 2);
        }
    }

    echo fibo(20);

?>

ตัวอย่างแรกเป็นตัวเลข Fibonacci การใช้งานคือ เรียกฟังก์ชั่น fibo() แล้วใส่ตัวเลขตำแหน่งหลักที่ต้องการเข้าไปเช่น fibo(20) หมายถึงตัวเลขfibonacci ในตำแหน่งที่ 20
<?php
    function fac($num) {
        if ($num == 0 || $num == 1) {
            return 1;
        }
        else {
            return fac($num - 1) * $num;
        }
    }

    echo fac(5);
?>

ตัวอย่างที่สองเป็นตัวเลข Factorial หรือ n! การทำงานก็คล้ายๆ กับfibonacci แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นค่าของ n! เลย
จะเห็นว่า ถ้าหากเราเขียนโปรแกรมแบบปกติ จะต้องมีการใช้คำสั่งวนรอบมาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าใช้ฟังก์ชั่นเรียกตัวเองเราไม่ต้องใช้คำสั่งวนรอบเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงานของฟังก์ชั่นเลย แต่จะต้องมีเงื่อนไขในการจบฟังก์ชั่นที่แน่นอนด้วย

ฟังก์ชันPHP : ฟังก์ชั่นภายใน

     เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานที่มากับ php มีราวๆ พันกว่าฟังก์ชั่น ซึ่งจะครอบคลุมการทำงานพื้นฐาน   ทั้งหมดของการเขียนโปรแกรม PHP จนบางครั้ง เราสามารถเขียนโปรแกรมที่ทำงานได้จริงโดย         ไม่จำเป็นต้องเขียนฟังก์ชั่นเพิ่มเติมเลยแม้แต่ฟังก์ชั่นเดียว เหมือนที่ผมเคยได้ยินมาว่า               คนที่เขียนโปรแกรมเก่ง ไม่จำเป็นต้องเขียนโค๊ดได้ดี เพียงแค่รู้จักฟังก์ชั่น แล้วรู้จักใช้มันก็พอ

ฟังก์ชั่นภายในทั้งหลาย สามารถดูได้จาก help ของ PHP ได้ โดยโหลดได้ที่http://www.php.net/docs.php
ตัวอย่างฟังก์ชั่นภายใน ผมขอยกตัวอย่างฟังก์ชั่น pow() ถ้าหากเปิดดู help จะเขียนเป็นลักษณะนี้
number pow ( number $base, number $exp )
number คือ ค่าที่ฟังก์ชั่นนี้ส่งกลับออกมา (return) ซึ่งเดี๋ยวเราค่อยมาอธิบายกัน
pow คือ ชื่อฟังก์ชั่น
(number $base, number $exp) คือ ค่าที่ต้องส่งให้ฟังก์ชั่นนี้ โดยnumber หมายถึงชนิดของค่า (datatype) ที่ต้องส่งไปให้
เพราะฉะนั้น ฟังก์ชั่น pow() เราต้องส่งค่าให้จำนวน ค่า เมื่อฟังก์ชั่นทำงานเสร็จแล้วจะคืนค่ากลับมาเป็นชนิดตัวเลข

   <?php
       $value = pow(5,2);  // เรียกฟังก์ชั่น pow() โดยส่งค่า 5 
  เป็นเลขฐาน และ 2 เป็นเลขชี้กำลัง แล้วเก็บค่าไว้ที่ตัวแปร $value
       echo $value;    // พิมพ์ค่าจากตัวแปร $value

   ?>

ถ้าหากเราไม่ได้นำค่าที่ได้ไปทำการคำนวณ เราสามารถแสดงค่าออกมาได้เลย

โดยไม่จำเป็นต้องเก็บค่าไว้ในตัวแปรใดๆ ลองดูตัวอย่างกันครับ

   <?php
       echo pow(5,2);  // พิมพ์ค่า 5ยกกำลัง2 ออกทางหน้าจcเลย
       echo "<br />";
       echo "ผลลัพท์ของ 5 ยกกำลัง 2 คือ " . pow(5,2);

?>

ฟ้งก์ชันPHP : ฟังก์ชั่น

ปกติแล้วโปรแกรมทุกๆ โปรแกรม จะทำงานจากบนลงล่าง และประมวลผลจากซ้ายไปขวา เมื่อทำงานเสร็จก็ถือว่าจบการทำงาน ถ้าหากเราต้องการทำงานเดิม ก็ต้องเขียนโปรแกรมซ้ำอีก ฟังก์ชั่นเลยเป็นที่รวบรวมส่วนที่เราจะเรียกใช้งานบ่อยๆ ให้รวมเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน โดยเรียกเพียงชื่อฟังก์ชั่นเท่านั้น ก็จะได้โปรแกรมที่ทำงานตามที่เราต้องการ และยังมีข้อดีคือ ถ้าหากต้องการแก้ไข ก็แก้ไขเพียงแต่ในฟังก์ชั่นเท่านั้น โปรแกรมทั้งหมดของเราก็จะทำงานตามการทำงานของฟังก์ชั่นที่แก้ไขเลย

       Function ในภาษา PHP มาอยู่ ชนิดคือ
1.ฟังก์ชั่นภายใน (invoking a function)
2.ฟังก์ชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง (creating a function)
3.ฟังก์ชั่นซ้อนฟังก์ชั่น (nesting function)
4.ฟังก์ชั่นเรียกตัวเอง (recursive function

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบฐานข้อมูล : ฟิลด์(filed)

       เมื่อเรานำอักขระหลายๆตัวรวมกันโดยมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเราจะเรียกว่า เขตข้อมูลหรือฟิลด์ (filed) เช่น การรวมของตัวอักษรและตัวเลขเพื่อใช้แทนรหัสลูกค้า เช่น ‘C0100001’ เป็นต้น ฟิลด์คือกลุ่มของอักขระที่สัมพันธ์กันตั้งแต่ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
       ฟิลด์ คือ กลุ่มของอักขระทีสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฟิลด์แต่ละฟิลด์ยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตฟิลด์นั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของฟิลด์ได้เป็น ประเภทคือ
          - ฟิลด์ตัวเลข (numeric field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอดคงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข
          - ฟิลด์ตัวอักษร (alphabetic field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (blank) เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร
          - ฟิลด์อักขระ (character field หรือ alphanumeric field) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า
       ข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฟิลด์ เป็นหน่วยย่อยของระเบียนที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูล เช่น ฟิลด์เลขรหัสประจำตัวบุคลากร ฟิลด์เงินเดือนของลูกจ้าง หรือฟิลด์เลขหมายโทรศัพท์ของพนักงาน ตัวอย่าง เช็คของธนาคารแห่งหนึ่งประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ธนาคาร เช็คเลขที่ จ่ายจำนวนเงินเป็นตัวเลข จำนวนเงินเป็นตัวอักษร สาขาเลขที่ เลขที่บัญชี และลายเซ็น
       ฟิลด์บางฟิลด์อาจจะประกอบด้วยข้อมูลหลาย ๆ ประเภทรวมกันในฟิลด์ เช่น ฟิลด์วันที่ประกอบด้วย ฟิลด์ย่อย ๆ คือ วันที่ เดือน และปี หรือในฟิลด์ชื่อธนาคาร ยังประกอบด้วยหลายฟิลด์ย่อย ๆ คือ ชื่อธนาคาร ที่อยู่ เมือง ประเทศ และรหัสไปรษณีย์

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบฐานข้อมูล : รูปแบบและโปรแกรมของระบบฐานข้อมูล

รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ
1. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถว (row) และเป็นคอลัมน์ (column) การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ดังตัวอย่าง
พนักงาน

รหัสพนักงาน

ชื่อพนักงาน

ที่อยู่

เงินเดือน

รหัสแผนก

12501535
12534568
12503452
12356892

15689730

นายสมพงศ์
นายมนตรี
นายเอก
นายบรรทัด

นายราชัน

กรุงเทพ
นครปฐม
กรุงเทพ
นนทบุรี

สมุทรปราการ

12000
12500
13500
11500

12000

VO
VN
VO
VD

VA

รูปแสดงตารางพนักงาน

2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่ายจะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กันจะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ใดแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกัน แต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น
3. ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น (Hierarchical Database)
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น เป็นโครงสร้างที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบพ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type) หรือเป็นโครงสร้างรูปแบบต้นไม้ (Tree) ข้อมูลที่จัดเก็บในที่นี้ คือ ระเบียน (Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ
ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นนี้คล้ายคลึงกับฐานข้อมูลแบบเครือข่าย แต่ต่างกันที่ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น มีกฎเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งประการ คือ ในแต่ละกรอบจะมีลูกศรวิ่งเข้าหาได้ไม่เกิน 1 หัวลูกศร


โปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้
โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลหรือรายการต่าง ๆ ที่อยู่ในฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บ การเรียกใช้ การปรับปรุงข้อมูล
โปรแกรมฐานข้อมูล จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งโปรแกรมฐานข้อมมูลที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น Access, FoxPro, Clipper, dBase, FoxBase, Oracle, SQL เป็นต้น โดยแต่ละโปรแกรมจะมีความสามารถต่างกัน บางโปรแกรมใช้ง่ายแต่จะจำกัดขอบเขตการใช้งาน บ่งโปรแกรมใช้งานยากกว่า แต่จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า
โปรแกรม Access นับเป็นโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากในขณะนี้ โดยเฉพาะในระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถสร้างแบบฟอร์มที่ต้องการจะเรียกดูข้อมูลในฐานข้อมูล หลังจากบันทึกข้อมูลในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว จะสามารถค้นหาหรือเรียกดูข้อมูลจากเขตข้อมูลใดก็ได้ นอกจากนี้ Access ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลในระบบได้ด้วย
โปรแกรม FoxPro เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เนื่องจากใช้ง่ายทั้งวิธีการเรียกจากเมนูของ FoxPro และประยุกต์โปรแกรมขึ้นใช้งาน โปรแกรมที่เขียนด้วย FoxPro จะสามารถใช้กลับ dBase คำสั่งและฟังก์ชั่นต่าง ๆ ใน dBase จะสามารถใช้งานบน FoxPro ได้ นอกจากนี้ใน FoxPro ยังมีเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรม เช่น การสร้างรายงาน
โปรแกรม dBase เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง การใช้งานจะคล้ายกับโปรแกรม FoxPro ข้อมูลรายงานที่อยู่ในไฟล์บน dBase จะสามารถส่งไปประมวลผลในโปรแกรม Word Processor ได้ และแม้แต่ Excel ก็สามารถอ่านไฟล์ .DBF ที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรม dBase ได้ด้วย

โปรแกรม SQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพการทำงานสูง สามารถทำงานที่ซับซ้อนได้โดยใช้คำสั่งเพียงไม่กี่คำสั่ง โปรแกรม SQL จึงเหมาะที่จะใช้กับระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และเป็นภาษาหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปโปรแกรมฐานข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Oracle, DB2 ก็มักจะมีคำสั่ง SQL ที่ต่างจากมาตรฐานไปบ้างเพื่อให้เป็นจุดเด่นของแต่ละโปรแกรมไป


ที่มา : http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it04/page01.html

ระบบฐานข้อมูล : หลักการเลือกโปรแกรมระบบฐานข้อมูล

                      การเลือกโปรแกรมระบบฐานข้อมูลมีข้อที่ควรคำนึงถึงต่อไปนี้

จำนวนข้อมูลที่รองรับได้ องค์กรขนาดย่อมอาจไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ต้องคิดถึงการขยายในอนาคตด้วย

วิธีการนำข้อมูลไปใช้  โปรแกรมระบบฐานข้อมูลทุกชนิด จะมีการเตรียมวิธีการนำข้อมูลไปใช้ไว้อยู่แล้ว แต่รูปแบบของการนำไปใช้ จะแตกต่างกัน ในแต่ละประเภท ตรงนี้ เราต้องคำนึงถึงว่า การนำไปใช้ของเราเป็นลักษณะใด เช่น เราต้องการรายงานออกมาในรูปตารางสรุป หรือ อาจต้องการในรูปของกราฟแสดงผล นอกจากนั้น ยังต้องคำนึงถึงว่า การถ่ายข้อมูลไปยังโปรแกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกระทำได้หรือไม่ มีรูปแบบการนำข้อมูลออกตรงกับที่ต้องการหรือไม่ เช่น ต้องการนำข้อมูลไปเข้าโปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ เป็นต้น

ความเป็นมาตรฐาน ความแพร่หลาย ถ้าเราใช้โปรแกรมที่มีจำนวนผู้ใช้มาก ก็จะทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลสะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถ ขอความช่วยเหลือและพัฒนาระบบต่อได้โดยง่าย

ระบบความปลอดภัย ต้องคำนึงถึงทั้งการเก็บสำรองข้อมูลในกรณีเกิดปัญหาทางฮาร์ดแวร์  และ ระบบป้องกันการเข้าถึงข้อมูลในกรณีที่เป็นข้อมูลลับที่อาจมีการขโมยข้อมูลเกิดขึ้น

ราคา โดยปกติแล้ว โปรแกรมที่มีความสามารถสูงก็ย่อมมีราคาแพง เราอาจต้องประเมินดูว่า จริงๆแล้วเราต้องการความสามารถนั้นๆหรือเปล่า


คำไข ระบบฐานข้อมูล การเลือกใช้


                                                               ที่มา : pioneer.netserv.chula.ac.th/~lpoom/db.doc

ระบบฐานข้อมูล : ความรู้เบื้องต้น

             สาระสำคัญ
                      ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบงานต่าง ๆ ร่วมกันได้ โดยที่จะไม่เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และยังสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลด้วย อีกทั้งข้อมูลในระบบก็จะถูกต้องเชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้น นับได้ว่าปัจจุบันเป็นยุคของสารสนเทศ เป็นที่ยอมรับกันว่า สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเหมาะสม สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้งานด้านธุรกิจ การบริหาร และกิจการอื่น ๆ องค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ๆ จะพบความยุ่งยากลำบากในการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำข้อมูลที่ต้องการออกมาใช้ให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ซึ่งทำให้ระบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้สะดวก ทั้งนี้โปรแกรมแต่ละโปรแกรมจะต้องสร้างวิธีควบคุมและจัดการกับข้อมูลขึ้นเอง ฐานข้อมูลจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้คอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูล จึงต้องคำนึงถึงการควบคุมและการจัดการความถูกต้องตลอดจนประสิทธิภาพในการเรียกใช้ข้อมูลด้วย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล

                      ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล


นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
   บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่กิดจากการนำบิทมารวมกันเป็นตัวอักขระ (Character)
   เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
   ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูลหลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน) จะประกอบด้วย
รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล
ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลาย ๆ ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน

ส่วนในระบบฐานข้อมูล มีคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังนี้
เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล
ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์(Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น


เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา


ที่มา : http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it04/page01.html